อ่านนิยายกัน



เรื่องดีดีของนิยาย

เรื่องสั้น และนวนิยายสมัยใหม่ในประเทศไทยเกิดพร้อมๆ กับการรับอิทธิพลด้านวัฒนธรรมอื่น ๆ จากชาติตะวันตก ในปี พ.ศ. 2378 คณะมิชชันนารีอเมริกันได้นำเทคนิควิทยาการการพิมพ์เข้ามาในประเทศไทย หนังสือพิมพ์ฉบับแรกของไทยเกิดเมื่อ ปี พ.ศ. 2400 ชื่อ "ราชกิจจานุเบกษา" และทำให้เกิด หนังสือพิมพ์ตามมากอีกหลายฉบับ

สำหรับการแต่งนวนิยายเป็นเรื่องแรกนั้นผู้รู้หลายท่านมักจะกล่าวว่าเรื่อง "สนุกนิ์นึก"ซึ่งแต่งโดยกรมหลวง พิชิตปรีชาการ    ซึ่งตีพิมพ์หนังสือวชิรญาณวิเสศ   (แผ่น 28 วันที่ 6 เดือน 8  ปีจอ  อัฐศก  1248)   เป็นเรื่องแต่ง  ที่มีแนวโน้มจะเป็นนิยายเรื่องแรกของไทยที่แต่งเลียนแบบนวนิยายตะวันตก อย่างไรก็ตามเรื่องนี้ก็แต่ง    ได้เพียงตอนเดียวก็ถูกระงับ เนื่องจากถูกกล่าวหาว่ามีเนื้อหากระทบกระเทียบต่อศาสนาในสมัยนั้น นวนิยายเต็มเรื่อง   เรื่องแรกของไทยเป็นนิยายแปลเรื่อง "ความพยาบาท" ที่ แม่วัน แปลมาจากหนังสือชื่อ vandetta ของ marie corelli ซึ่งตีพิมพ์เป็นตอน ๆ ในหนังสือลักวิทยา ในช่วงปี พ.ศ. 2445 และหลังจากนั้น ก็สร้างแรงจูงใจให้ "ครูเหลี่ยม" เขียนนวนิยายไทยที่เป็นเนื่องเรื่องแบบไทยแท้ล้อเลียนเรื่องแปลของแม่วัน โดยใช้ชื่อว่า "ความไม่พยาบาท" ในปี พ.ศ. 2458

งานเขียนเรื่องสั้นและนวนิยายมีวิวัฒนาการเรื่อยมา จนกระทั่งช่วง พ.ศ. 2471-2472 ซึ่งถือเป็นช่วงเวลา ที่สำคัญอีกช่วงหนึ่งของประวัติวรรณคดีไทย เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่เกิดนักเขียนซึ่งทำให้เกิดเป็นแรงบันดาลใจ ให้มีการเขียนเรื่องสั้นและนวนิยายในยุคต่อมา คือ ในปี พ.ศ. 2471 กุหลาบ สายประดิษฐ์ หรือ ศรีบูรพาแต่ง"ลูกผู้ชาย" ซึ่งได้รับความนิยมมาก พ.ศ. 2472 ดอกไม้สด แต่ง "ศตรูของเจ้าหล่อน" และ หม่อมเจ้าอากาศ ดำเกิงรพีพัฒน์ แต่ง "ละครแห่งชีวิต" 

นักเขียนทั้งสามท่านเขียนเรื่องราวออกมาโดยใช้พล็อต หรือแนวเรื่องแตกต่างจากนวนิยายต่างประเทศ ในสมัยนั้น ทำให้นักเขียนทั้งสามท่านได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้ริเริ่มให้เกิดการเขียนซึ่งวางโครงเรื่องเป็นแบบไทย และเป็นต้นแบบการเขียนนวนิยายมาจนถึงปัจจุบัน

ถึงแม้เรื่องสั้น และนวนิยายถูกนับว่าเป็นบันเทิงคดี คือเรื่องที่แต่งขึ้นมาจากจินตนากรของผู้เขียนเป็นส่วนใหญ่ แต่นวนิยายก็มีประโยชน์และมีคุณค่าในตัวของมันเอง เรื่องสั้นและนวนิยายสามารถบอกเรื่องราว และความนึกคิด ของคนในสมัยต่าง ๆ ได้ เช่น เรื่องสี่แผ่นดิน ของ มรว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ที่สะท้อนเรื่องราวของชีวิตไทยในอดีต เรื่องราวของสงครามโลกครั้งที่สองใน คู่กรรม เป็นต้น

ประโยชน์ของการอ่านนิยาย


นิยาย เป็นรูปแบบหนึ่งของวรรณกรรมลายลักษณ์ ถูกแต่งด้วยภาษา จินตนาการแล้วถูกถ่ายทอดในรูปแบบของร้อยแก้ว บางเรื่องถูกแปลมากจากภาษาอื่น เป็นเหตุการณ์จริง หรืออิงความเป็นจริง ชวนน่าติดตามด้วยบทสนทนา และบรรยายเหตุการณ์จนเกิดมโนภาพให้ผู้อ่าน นอกจากความเพลิดเพลินในแบบของหนังสือนิยายแล้ว ในบางเล่มถูกถ่ายทอดเป็นภาพยนตร์ ละครโทรทัศน์ ส่งต่อความก้าวหน้า และการพัฒนาของนิยายในลำดับต่อไป
นิยาย ตัวหนังสือ ที่ถักทอร้อยเรียงเรื่องราว เป็นมากกว่าตัวหนังสือ และให้มากกว่าความบันเทิง ดังนี้
1.ฝึกสมาธิ : การอ่านหนังสือทำให้เราสามารถจดจ่ออยู่กับเรื่องราว ถือว่าเป็นการฝึกฝนให้เกิดสมาธิได้อย่างแน่นอน
2.ฝึกนิสัยรักการอ่าน การเขียนภาษาไทยให้ถูกต้อง : ทุกตัวอักษรต้องผ่านสายตา ฉะนั้นแล้วการอ่านนวนิยาย เป็นการฝึกการอ่านภาษาไทย สังเกตตัวสะกดที่ถูกต้อง รับรองได้ว่าวรรณยุกต์ทุกตัวสะกด ถูกต้องครบถ้วนอย่างแน่นอน
3.สร้างจินตนาการ : เสริมสร้างความรู้ด้านต่างๆ ของสังคม แนวอิงประวัติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ การเมืองการปกครองในแต่ละยุคสมัย เรียนรู้ความเปลี่ยนแปลงของแต่ละสังคม แต่ละช่วงเวลา เปิดโลกทัศน์ และมุมมองใหม่ให้กับให้กับตัวคุณเอง
4.สัมผัสกับสถานที่ต่างๆได้อย่างไม่มีข้อจำกัด : เรื่องราวทั้งในและนอกประเทศ บางครั้งเราอาจไม่ได้มีโอกาสไปสัมผัสสถานที่นั้นได้จริง นวนิยายจะพาเราไปสัมผัสกับสถานที่เหล่านั้น ด้วยการลงทุนแบบประหยัดมากที่สุด แต่กลิ่นอายบรรยากาศถูกบันทึกในความทรงจำอย่างครบถ้วน
5.มองโลกในแง่ดี คนคิดบวกเสมอ : การเรียนรู้เรื่องราวต่างๆ ผ่านตัวหนังสือจะทำให้เราเข้าใจความเป็นธรรมชาติของโลกมากขึ้น ส่งผลต่อระบบความคิด และมุมมองในการดำเนินชีวิตได้เป็นอย่างดี

เมื่อกาลเวลาเปลี่ยนแปลงไป ทุกสิ่งทุกอย่างถูกแรงขับเคลื่อนด้วยวัฒนธรรม เทคโนโลยี แทรกซึมกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเช่นเดียวกับเรื่องราวของนิยาย ถูกเคลื่อนที่ให้เข้าสู่โลกดิจิตอล มีผลการสำรวจว่า เด็กอายุ 6-24 ปี นิยมอ่านหนังสือในรูปแบบออนไลน์มากขึ้น หลายเว็บไซต์จึงเปรียบเสมือนพื้นที่กระดาษสีขาว ให้นักเขียนมือใหม่ได้แต่งแต้มสีสันในนิยายของตัวเอง ถือว่าเป็นเวทีของนักเขียนหน้าใหม่ ได้มาประลองวิชาได้อีกทางหนึ่ง ส่งผลให้ผู้บริโภคอย่างเราเลือกอ่านได้หลากหลายแนว แต่ไม่ว่าความสะดวกของผู้อ่านจะเป็นไปในลักษณะของหนังสือ หรือว่าเทคโนโลยีอื่น เรื่องราวของนิยาย ก็ถือว่าเป็นขุมทรัพย์ทางปัญญาได้เช่นเดียวกัน แล้ววันนี้คุณมีขุมทรัพย์ไว้ใกล้ตัวมากน้อยเพียงไร~



นิยายในแบบรูปเล่ม




นิยายในแบบดิจิตอล/ e-book



ที่มาของบทความนี้
https://sites.google.com/site/miwkyoofiction/prayochn-khxng-kar-xan-nwniyay
MiwKyOOFiction

No comments:

Post a Comment